รีวิว American Factory

เรื่องย่อ American Factory สารคดีรางวัลออสการ์ เมื่อมหาเศรษฐีชาวจีนเข้าไปเปิดโรงงานใหม่ในโรงงาน General Motors ซึ่งถูกทิ้งร้าง และว่าจ้างคนงานชาวอเมริกันสองพันคนเข้าทำงาน แต่ความตื่นเต้นและความหวังในตอนต้นต้องพบกับปัญหา เมื่อความไฮเทคของจีนปะทะกับชนชั้นแรงงานของอเมริกาเข้าอย่างจัง ดูได้ที่ ดูหนัง

 

 

จะเรียกว่าเป็นการปะทะกันอย่างบังเอิญก็ได้นะครับ อยู่ดี ๆ สถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศไทยในตอนนี้ ที่มีข่าวที่ตอนนี้มีข่าวว่า GM เตรียมยุติการขาย-ผลิต “เชฟโรเลต” ในไทย ภายในปี 2563 จนต้องลดราคารถในสต็อกจนหมดเกลี้ยง แล้วก็ให้บังเอิญอีกว่า ช่วงต้นเดือนที่ผ่านมาคือช่วงของการประกาศผลรางวัลออสการ์ครั้งที่ 92 ประจำปี 2020 ก็มีภาพยนตร์เรื่องหนึ่งได้รับรางวัลในสาขา “ภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยม”

ซึ่งปีนี้ก็ตกเป็นของ “American Factory” สารคดี Netflix ว่าด้วยเรื่องราวของการปะทะกันระหว่างอุตสาหกรรมอเมริกัน กับกลุ่มทุนจีน แถมยังพูดถึงเรื่องของโรงงาน GM เหมือนกันอีกซะด้วย! แถมสารคดีเรื่องนี้ยังเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของ Higher Ground Productions

ซึ่งเป็นบริษัทผลิตโพรดักชันของอดีตประธานาธิบดีและสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของสหรัฐ บารัค และมิเชล โอบามา ซึ่งก่อนหน้านี้หนังสารคดีเรื่องนี้ก็ได้มีโอกาสไปฉายในเทศกาลภาพยนตร์ซันแดนซ์ ปี 2019 มาก่อนแล้วด้วย แถมก่อนจะได้ออสการ์ ก็กวาดรางวัลเล็ก ๆ น้อย ๆ มาเป็นการันตีว่า สารคดี Netflix เรื่องนี้ไม่ธรรมดาจริง ๆ

สารคดีเรื่องนี้ว่าด้วยเรื่องราวตั้งแต่ปี 2008 ท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจอเมริกาตกต่ำ เมื่อโรงงานผลิตรถยนต์ General Motors หรือ GM ณ เดย์ตัน โอไฮโอต้องปิดตัวลง ส่งผลทำให้คนงานหลายพันคนต้องตกงาน หมู่บ้านของพนักงานกลายเป็นเมืองร้าง แต่แล้วในปี 2016 ก็มีบริษัทผลิตกระจกรถยนต์ยักษ์ใหญ่ของโลกสัญชาติจีนที่ชื่อฝูเหยา (Fuyao Glass America Inc.) เข้ามาซื้อพื้นที่โรงงานของ GM เพื่อเปลี่ยนอดีตโรงงานผลิตรถยนต์ ให้กลายเป็นโรงงานผลิตกระจกรถยนต์ เพื่อส่งออกกระจกให้กับบริษัทผลิตรถยนต์ยี่ห้อชั้นนำของโลก

และแม้ว่าจะมีการจ้างพนักงานจาก GM เดิมกลับเข้ามาทำงาน และก็ดูมีทีท่าว่าอนาคตของชาวโอไฮโอจะกลับมาสดใสอีกครั้ง แม้ว่าจะต้องแลกกับการได้ค่าแรงลดลงจาก 29 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง ลดเหลือเพียง 13 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง และไม่ใช่เพียงเท่านั้น เพราะสิ่งที่ตามมาอย่างหนักหน่วงกว่านั้นไม่ใช่แค่การลดค่าแรง แต่เป็น “วัฒนธรรมองค์กรแบบจีน ๆ” และ “สไตล์การทำงานแบบจีน ๆ” พ่วงขบวนมาจากแผ่นดินใหญ่ด้วย แล้วมันก็แตกต่างจาก “วัฒนธรรมองค์กรและสไตล์การทำงานแบบอเมริกัน” อย่างสุดขั้ว

หาก “วัฒนธรรมองค์กรและสไตล์การทำงานแบบอเมริกัน” คือการโฟกัสไปที่คุณภาพชีวิตของคนทำงาน ทำงานเพียง 8 ชั่วโมงต่อกะ หยุดเสาร์อาทิตย์ การจ่ายค่าแรงที่สมน้ำสมเนื้อ วัฒนธรรมองค์กรที่เน้นความเข้าใจในความเป็นมนุษย์ของพนักงานทุกคน ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและการดูแลสิ่งแวดล้อม และเน้นการทำงานที่มีความสุข มั่นคง

และมีสิทธิ์มีเสียงในองค์กรด้วยการตั้งสหภาพแรงงาน “วัฒนธรรมองค์กรและสไตล์การทำงานแบบจีน” ก็คือการเน้นไปที่ Productive เป็นหลัก เน้นความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความพร้อมเพรียง ความจริงจังในการทำงานเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุด เน้นความจงรักภักดีและเคารพผู้บังคับบัญชา ละเว้นมาตรฐานความปลอดภัยของโรงงาน และไม่สนใจการตั้งสหภาพแรงงานและสิทธิใด ๆ พร้อมที่จะทำงานหนักกว่าวันละ 12 ชั่วโมง หยุดเพียงเดือนละ 1-2 วัน ซึ่งนั่นส่งผลทำให้ได้ประสิทธิภาพการทำงานและ Productive ที่เหนือกว่า

รีวิว American Factory

ซึ่งนั่นส่งผลต่อระบบการทำงานและการดำรงชีวิตของคนงานอเมริกันกว่าพันคนโดยทันที เริ่มตั้งแต่การที่พนักงานประสบอุบัติเหตุในการทำงาน ทั้ง ๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นเลยตลอดเวลา 15 ปีที่เคยทำงานกับ GM การให้ทำงานในพื้นที่อุณหภูมิสูงเกือบ 100 องศาเซลเซียสเป็นเวลานาน ๆ เวลาการทำงานที่มากเกินไป ไปรับชมที่ ดูหนังฟรี

 

 

การทำงานและผลงานแบบอเมริกันที่คนจีนมองว่า “ใช้ไม่ได้” การทิ้งสารเคมีเป็นพิษลงแม่น้ำ สภาพความเป็นอยู่ของคนงานที่ย่ำแย่ลงเรื่อย ๆ จนลุกลามกลายเป็นการประท้วงให้มีการตั้งสหภาพ ทั้ง ๆ ที่นโยบายของผู้บริหารนั้นคัดค้านการตั้งสหภาพแรงงานตั้งแต่แรกอยู่แล้ว

เอาจริง ๆ พอปูพื้นมาแบบนี้ ทุนจีนอย่างฝูเหยาดูกลายเป็นปีศาจร้ายจากแผ่นดินใหญ่ที่จะมากำราบโรงงานและการทำงานแบบอเมริกันเลยใช่มั้ยครับ (นี่ยังไม่นับเรื่องจุกจิกทั้งเรื่อง Micro Management ธรรมเนียมปฏิบัติจุกจิกคล้าย ๆ ทหาร และคอนเนกชันกับรัฐบาลจีนอีกนะ) แต่สิ่งที่ผมรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ดีมาก ๆ ของหนังคือการพยายามเรื่องเล่าของมุมมองจากทั้งสองฝั่ง

ทั้งอเมริกาและจีน และจากมุมมองจากทุกระดับของ Organization chart ตั้งแต่ซีอีโอ ผู้บริหาร ผู้จัดการโรงงาน ทนายความ ลงไปจนถึงคนงาน และคนภายนอกอย่างสหภาพยานยนต์ (United Auto Works) ที่พยายามเข้ามาผลักดันให้โรงงานฝูเหยามีสหภาพแรงงานเป็นของตัวเองให้ได้

ในหลาย ๆ ครั้งเราจึงได้เห็นคนงานชาวจีนกับชาวอเมริกันกลายเป็นเพื่อนร่วมงานและเป็นมิตรที่เข้ากันได้เป็นอย่างดี ไปมาหาสู่ กินข้าว ตกปลา ชวนขี่ม้าที่บ้านได้ และในอีกแง่มุมหนึ่ง คนงานชาวจีนก็ต้องจากบ้าน จากครอบครัวมาทำงานที่โรงงานในโอไฮโอ พวกเขาก็ต้องปรับตัวกับวัฒนธรรมอเมริกันที่พวกเขาไม่คุ้นเคย ภาษาที่พวกเขาฟังไม่เข้าใจ แถมการมาทำงานที่อเมริกาก็ไม่ได้ค่าแรงเพิ่มด้วย การจากบ้านมาทำงานของพวกเขามีเพียงเป้าหมายเดียวคือ ทำงานที่พวกเขาต้องทำเพียงเท่านั้น ไปรับชมเลยที่ ดูหนังออนไลน์

 

 

ก็ยิ่งเสริมมุมมองของการเน้น Productive ในฝั่งจีนให้หนักแน่นขึ้น ซึ่งนั่นก็ดูจะสวนทางกับความปรารถนาแบบอเมริกัน หรืออย่างที่เรารู้จักกันว่า “American Dream” ที่มองว่าการงานนั้นสร้างฐานะและคุณภาพชีวิตให้มั่นคง ทำให้ตัวเองและครอบครัวมีความสุขสบายได้ และเคร่งครัดกับการรับผิดชอบต่อสังคมในแบบที่คนทำงานอเมริกันเชื่อกันมาตั้งนมนาน

แม้ว่าในที่สุดการทำงานแบบจีน ๆ ก็เข้ามาทำให้ “ฝันอเมริกัน” ล่มสลาย แต่สารคดีก็มีพื้นที่ในอีกมุมที่เปิดให้เราได้คิดว่า หรือเอาจริง ๆ การมาของการทำงานแบบจีนและการรุกของทุนจีนผู้เกรียงไกรก็อาจจะกลายเป็นเพียงเรื่องปลายเหตุก็ได้ (ละมั้ง) เพราะถ้ามองในอีกมุมหนึ่ง การบริหารและการทำงานแบบจีน ๆ นี่แหละก็อาจเป็นสาเหตุให้จีนผงาดขึ้นมาเป็นมหาอำนาจโลกในตอนนี้ และการทำงานสไตล์แบบอเมริกันนี่แหละ ที่อาจเป็นสาเหตุหนึ่งทำให้คนงานโรงงาน GM ในเดย์ตันต้องตกงานกันเป็นเบือขนาดนี้

รีวิวจากผู้ชมทั่วโลก

ดูจบแล้วมั่นใจว่าเป็นสารคดีทรงพลัง For Sama ที่จะคว้ารางวัลใหญ่จากงาน Academy Awards ไป เลยตกใจที่เข้าฉายหนังเรื่องนี้ ผลิตโดย Netflix แต่ก็แอบหวังว่าจะเป็นผู้ชนะที่คู่ควร เมื่อฉันดูมัน โดยทั่วไปแล้วจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับโรงงานในเมือง Moraine ใกล้เมือง Dayton ในรัฐโอไฮโอหลังยุคอุตสาหกรรม ที่นั่น โรงงานของบริษัท General Motors ที่ปิดตัวลงถูกซื้อและเปิดใหม่โดยผู้ประกอบการชาวจีนและประธานมหาเศรษฐี Cao Dewang โรงงานแห่งนี้ได้แปรสภาพเป็นโรงงานผลิตแก้วที่ล้ำสมัย โดยให้การจ้างงานและความหวังแก่อดีตพนักงาน ไปดูกันเลยที่ เว็บดูหนังฟรี

 

 

ซึ่งประกอบด้วยชาวอเมริกัน 2 พันคน และพนักงานชาวจีนจำนวนมาก ความหวังและการมองโลกในแง่ดีในช่วงแรกเริ่มเปลี่ยนไปอย่างช้าๆ เมื่อจีนที่มีเทคโนโลยีสูงปะทะกับชนชั้นแรงงานของอเมริกา ความขัดแย้งส่วนใหญ่เกิดขึ้นระหว่างการจัดการที่ขับเคลื่อนด้วยประสิทธิภาพและคนงานชาวอเมริกันที่คำนึงถึงความปลอดภัย และการโต้เถียงระหว่างคนงานที่ไม่พอใจเกี่ยวกับกะ 12 ชั่วโมง ไม่มีวันหยุดวันหยุดสุดสัปดาห์ ไม่มีการพูดคุยพูดคุยกัน

และไม่มีตัวแทนสหภาพแรงงาน ในที่สุดคนงานจำนวนมากก็ถูกปล่อยตัวและแทนที่ด้วยเครื่องจักรไฮเทคขั้นสูง ภาพยนตร์เรื่องนี้ชี้ให้เห็นถึงประเด็นที่เพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติและโลกาภิวัตน์ ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเรื่องราวความขัดแย้งทางวัฒนธรรม โดยมีทุกอย่างตั้งแต่สิ่งที่เกิดขึ้นในที่ทำงาน รวมทั้งสถานที่ผลิตแก้วที่น่าสนใจ ไปจนถึงการรวมตัวในบริษัท

รวมถึงฉากที่น่าจดจำกับชาวจีนที่แสดงการเต้นรำที่มีสีสันแบบดั้งเดิม และชาวอเมริกันก็เก็บเอาไว้ เรียบง่ายและครึกครื้นด้วย “YMCA” ฉันเห็นด้วยว่ามันยาวกว่าที่ควรจะเป็นเล็กน้อย สไตล์แบบลอยตัวนั้นน่าสนใจ แม้ว่าคุณจะตั้งคำถามถึงความสมจริงในบางช่วงเวลาก็ตาม ไม่มีที่ไหนใกล้จะดึงดูดหรือทรงพลังเท่า For Sama ดังนั้นฉันจึงผิดหวังเล็กน้อยที่สิ่งนี้อ้างว่า (ขโมย) รางวัล แต่นี่เป็นสารคดีที่ดีพอสมควร ได้รับรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยม ควรค่าแก่การดูในความคิดของฉัน!

ฉันไม่สามารถตัดสินใจได้ว่า “American Factory” เป็นเรื่องเฮฮาหรือหดหู่อย่างสุดซึ้งหรือไม่

 

รีวิว American Factory

 

เฮฮาเพราะเป็นเรื่องตลกที่ได้เห็นการปะทะกันของวัฒนธรรมระหว่างชนชั้นแรงงานชาวอเมริกันกับคู่หูชาวจีนของพวกเขา (ซีอีโอชาวจีนที่เดินทางไปโรงงานในอเมริกาที่เขาเพิ่งซื้อมาใหม่ต้องการให้สัญญาณเตือนไฟไหม้ย้ายไปอยู่ที่เดิมเพราะ…..ก็เพราะว่ามันดูแย่)

แต่ที่น่าหดหู่เพราะมันตอกย้ำถึงความเป็นจริงระดับโลกใหม่ที่คนอเมริกันจำนวนมากไม่ยอมรับ — การทำงานอัตโนมัติกำลังขจัดคนงานทั้งหมดทั่วโลก และคุณสามารถถกเถียงกันได้ทั้งวันว่านี่เป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดี แต่อะไร ไม่ได้อัปเดตคือมันเกิดขึ้นทั้งสองทางและผู้ที่ไม่สามารถปรับตัวได้จะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

หนังเรื่องนี้ได้ตอกย้ำบางสิ่งที่ฉันเคยสังเกตมาก่อนด้วย ซึ่งก็คือถ้าคุณเอาอุดมการณ์ที่เป็นปฏิปักษ์ไปจนสุดโต่ง คุณก็จะได้พบกันที่เดิม อเมริกาอนุรักษ์นิยมรู้สึกหวาดกลัวอย่างยิ่งกับคำใบ้เพียงเล็กน้อยของลัทธิสังคมนิยม นับประสาลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างหมดจด และยกย่องระบบทุนนิยมว่าเป็นหนึ่งในหลักการชี้นำของอเมริกา

แต่บริษัทจีนในภาพยนตร์เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่าระบบทุนนิยมนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่อย่างมหึมาในวัฒนธรรมที่อาจมีอยู่ในระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์ ที่ความจงรักภักดีต่อบริษัททดแทนความจงรักภักดีต่อผู้นำทางการเมือง และต้องเผชิญกับสิ่งนั้น กรรมกรชาวอเมริกันต้องการอะไร? สังคมนิยมขนาดมหึมาเพื่อปกป้องพวกเขาจากผลประโยชน์ขององค์กรที่หนีไม่พ้น เว็บรีวิวหนัง