รีวิว 13TH

เหตุการณ์การจับกุมชายผิวสีนามว่า จอร์จ ฟลอยด์ (George Floyd) อย่างเลือดเย็นจนกระทั่งเขาเสียชีวิตโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจสหรัฐอเมริกานั้น นำมาซึ่งการต่อต้าน การตั้งคำถาม และการประณามทั่วไปหมด ทั้งฝั่งเจ้าหน้าที่ตำรวจในขณะจับกุม (ตามคลิปที่ปรากฏให้เห็นโดยทั่วไป) ก็ไม่ได้แสดงความรู้สึกผิด หรือความรับผิดชอบอะไรออกมานักเลย ดูได้ที่ ดูหนัง

 

13TH

 

ยิ่งเป็นดั่งเชื้อให้เพลิงความโกรธทวีความรุนแรงมากขึ้นไปอีก เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ทำให้ผมหวนไปนึกถึงภาพยนตร์สารคดีชื่อว่า 13th ซึ่งอยู่ใน Netflix อันมีเนื้อหาว่าด้วยการสร้างทาสหรือการกดขี่คนผิวสียุคใหม่ ผ่านมาตรา 13 ของรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกาเอง ผมเลยอยากนำเสนอเนื้อหาของ 13th ให้ลองพิจารณาดู เพราะคิดว่าน่าจะทำให้ท่านผู้อ่านได้เห็นเหง้ารากของปัญหานี้ได้ชัดมากขึ้นครับ

อนึ่ง ที่เขียนมานี้มีการสปอยล์เนื้อหาหนังอย่างรุนแรง และนี่คือหนังสารคดี ฉะนั้นหากเข้าถึง Netflix ได้ ควรชมภาพยนตร์ก่อนมาอ่านนะครับ ทั้งนี้ผมจะพยายามเขียนโดยแตะเนื้อหาในเชิงรายละเอียดของภาพยนตร์ให้น้อยที่สุด แต่เป็นเหมือนการเล่าใหม่ โดยสวมเลนส์ทางวิชาการและกรอบทฤษฎีเข้าไปเพิ่มเติมให้แทนครับ

ในทางเนื้อหาหลักๆ ของตัวภาพยนตร์ ผมขออธิบายเพียงว่า หนังว่าด้วยประวัติศาสตร์การกดขี่คนดำที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะการเปลี่ยนถ่ายสถานภาพจาก ‘literal slave’ (ทาสจริงๆ) มาเป็น ‘figurative slave’ (ทาสเสมือนจริง) ในรูปแบบของนักโทษ ผ่านมาตราที่ 13 ของรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ ที่ระบุว่าประชาชนทุกคนไม่มีใครจะมาถูกปฏิบัติเยี่ยงทาสหรือไม่เป็นมนุษย์ได้ เว้นแต่ในกรณีที่ก่ออาชญากรรม โดยตัวหนังแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลักๆ คือ ประวัติศาสตร์ของการกดขี่, สภาพการกดขี่ในปัจจุบัน, ธุรกิจ/เศรษฐกิจของการกดขี่, และทางออก/ช่องทางการแก้ไขที่มีต่อการกดขี่

 

รีวิว 13TH
13TH

 

นอกจากนี้ อีกจุดหนึ่งที่ผมชอบมากๆ ของภาพยนตร์เรื่องนี้ก็คือท่าทีเชิงวิพากษ์ (critical) ต่อสังคมชุมชนคนดำเองด้วย ที่มีต่อความรุนแรงที่เกิดขึ้น หรือแม้แต่ในบางครั้งกลายเป็นเหยื่อของวาทกรรมความรุนแรงในการสร้างความรุนแรงเลยทีเดียว แม้อาจจะไม่ได้พูดเยอะ แต่เราก็เห็นการสอดแทรกท่าทีเชิงวิพากษ์นี้เป็นระยะๆ อยู่

“อะไรที่ทำให้เรากลายเป็นคนนอกกฎหมาย”

หรือเขียนใหม่แบบเข้าใจง่ายขึ้นนิด อะไรเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการทำผิดกฎหมาย? การกระทำ? คนร้าย? เหยื่อ? พยาน? หลักฐาน? ศาล?…เปล่าเลยครับ สิ่งสำคัญที่สุดที่ทำให้คนเป็นคน ‘นอกกฎหมายหรือในกฎหมาย’ นั้นไม่ใช่อะไรอื่นนอกจาก ‘ตัวกฎหมายเอง’ ไปรับชมเลยที่ ดูหนังออนไลน์

 

13TH

 

หน้าที่ที่สำคัญที่สุดของกฎหมายคือ การเป็นกลไกในการบอกว่า ‘ใคร/อะไรถูกกฎหมาย’ และ ‘ใคร/อะไรไม่ถูกกฎหมาย’ ว่าง่ายๆ แบ่งคนเป็นสองกลุ่มคือ ผู้ซึ่งเชื่อฟังและผู้ซึ่งไม่เชื่อฟัง (the obedience and the disobedience) ซึ่งมาตราที่ 13 ของรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา ก็เช่นเดียวกัน มันเป็นไปตามกลไกที่บอกมา ซึ่งอธิบายไว้โดย จอร์จิโอ้ อะแกมเบ้น (Giorgio Agamben)

ทีนี้ปัญหามันมาตกอยู่ที่ว่า สถานะในฐานะมนุษย์ของเหล่าผู้ซึ่งกฎหมายจัดวางไว้ว่าเป็นพวก ‘นอกกฎหมาย’ นี่แหละ คือ คนเหล่านี้มีสถานะแบบที่อะแกมเบ้นอธิบายไว้ว่าอยู่ในและนอกการเมือง (ของกฎหมาย) ในเวลาเดียวกัน (In and out of politics at the same time) ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? ก็เพราะการที่พวกเขากลายเป็นคนนอกกฎหมายนั้น มันมาจากอำนาจของตัวกฎหมายและพลังทางการเมืองของรัฐเอง สถานะของบุคคลที่แสนจะย้อนแย้งจากการเป็นมนุษย์ทั่วไปนี้ เป็นสถานะที่อะแกมเบ้นเรียกมันว่า ‘ชีวิตที่กลวงเปล่า’ (Bare life หรือ Homo Sacer)

การเป็นชีวิตที่กลวงเปล่านี้ กลายเป็นสถานะซึ่งไม่มีคุณค่าใดๆ ในมุมมองของอะแกมเบ้น หากผมเรียกด้วยภาษาตัวเองง่ายๆ ก็คือ กฎหมายได้เปลี่ยนสถานะของ ‘ผู้นอกกฎหมาย’ จากมนุษย์ (human being) ให้กลายมาเป็นเพียงแค่ ‘มวลชีวิต’ (living mass) คือ ไม่ได้มีคุณค่าอะไรใดๆ ในฐานะมนุษย์อีกต่อไป กลับไปเป็นเพียงสมบัติหรือวัตถุของเจ้าผู้มีอำนาจเหนือกว่า

 

รีวิว 13TH
13TH

 

ซึ่งตัวหนังดำเนินเรื่องจากจุดนี้ในฐานะแกนกลางทางความคิด และความหวาดกลัวที่มีต่อคนดำที่ส่วนหนึ่งเป็นเชื้อมูลจากประวัติศาสตร์ในอดีต และอีกส่วนมาจาก ‘ภาพสร้างใหม่’ ผ่านสารพัดสื่อ (simulation) ได้สร้างสภาพยกเว้นพิเศษ (State of Exception) ขึ้นมา ที่ทำให้คนดำกลายเป็น ‘ชีวิตที่กลวงเปล่า’ และรัฐจะจัดการอย่างไรกับคนพวกนี้ก็ได้ในนามความมั่นคง

ตัวหนังเริ่มต้นจากการเล่าเรื่องประวัติศาสตร์การกดขี่ของอเมริกา โดยเฉพาะช่วงสงครามกลางเมือง และหลังจากนั้น ว่าทาสคนดำถูกปฏิบัติด้วยอย่างไร ฯลฯ ซึ่งจะไม่ลงรายละเอียด เพราะควรจะดูมาแล้วไม่อยากสปอยล์หนักกว่าที่ทำอยู่

ประวัติศาสตร์การกดขี่ และสภาพการกดขี่ในปัจจุบัน (มันเป็นสองส่วนที่แชร์ไอเดียร่วมกันแรงมาก จนไม่รู้จะแยกอย่างชัดเจนให้ยังไง)

รีวิว 13TH

หลังจากจบสงครามเย็นมาแล้ว สหรัฐอเมริกาได้กลายเป็นเจ้าอำนาจโลกเพียงหนึ่งเดียวอย่างเด็ดขาด (Single Hegemonic State) นั่นหมายความว่าศัตรูของอเมริกาไม่ใช่ใครอื่นอีก นอกเสียจากตัวสหรัฐอเมริกาเอง : เราจะเห็นได้จากการเสนอภาพของการสร้าง domestic violence ในฐานะ ‘ศัตรูร่วม’ อันดับหนึ่งของรัฐขึ้นมา ผ่านสงครามต่อต้านยาเสพติดของนิกสัน และเอาจริงเอาจังในยุคของเรแกน นั่นเป็นเพราะศัตรูจากภายนอกสลายไปแล้ว ไปรับชมที่ ดูหนังฟรี

 

The 13th

 

นิยามรัฐแบบเวเบอร์ (Weberian definition of State) ที่ว่า ‘รัฐสมัยใหม่คือผู้ผูกขาดการใช้กำลังทางกายภาพอย่างชอบธรรมเพียงหนึ่งเดียวในพื้นที่หนึ่งๆ’ : ภาพยนตร์ได้ฉายภาพแสดงการใช้อำนาจของรัฐในนามความถูกต้อง ที่จะจัดการกับปัญหาหรือภัยสูงสุดของสังคม ที่ถูกมองผ่านสายตาแบบ white supremacy (คนขาวเหนือกว่าชนชาติอื่น) ตลอดเวลา ซึ่งมันสะท้อนออกมาผ่านการลงโทษ

และด่วนสรุปตัดสิน ‘คนดำและละติน’ จำนวนมาก อย่างไม่มีหลักฐาน หรือลงโทษอย่างเกินกว่าเหตุตลอดเวลา ในจุดนี้อาจจะเรียกได้ว่า เชื้อมูลของยุคแห่งการค้าทาส และภาพสร้างของคนดำในฐานะตัวเหี้ยในทุกด้าน (ทั้งผ่านภาพยนตร์และข่าว) ทำให้คนดำถูกรัฐมองในฐานะภัยต่อรัฐและ presume guilty ได้ (ตามมาตรฐานสากลคือ ต้อง presume innocent หรือสรุปก่อนว่าผู้ต้องหาบริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ได้)

ความกลัวต่อความตาย (fear of death) เป็นนวัตกรรมทางการเมืองที่สำคัญที่สุดของสังคมสมัยใหม่ หากความกลัวต่อความตายถูกสร้างให้เห็นภาพอยู่ตรงหน้า หรือถูกเข้าใจว่ามีอยู่จริงๆ ประชากรของรัฐในฐานะมนุษย์สมัยใหม่ ก็พร้อมที่จะตอบสนองต่อความกลัวนั้น โดยยินยอมที่จะสละสิทธิและเสรีภาพของตนเอง เพื่อประกันให้ชีวิตของตนเองอยู่ห่างจาก ‘ภัย’ ที่จะมาทำอันตรายต่อชีวิตอันเป็นสิ่งซึ่งมีค่าสูงสุดของตน

ฉะนั้นนโยบายอย่าง Law and Order หรือ การบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดและสร้างระเบียบในสังคมจึงกลายเป็นนโยบายที่ขายได้ เพราะภาพของคนดำในฐานะภัยอันตรายต่อชีวิต (ผ่านภาพการเป็นดีลเลอร์ยาเสพติด, ข่มขืน, ฯลฯ) ถูกสร้างขึ้นมาตลอด และเพราะคนดำช่างอยู่ใกล้ตัวเสียเหลือเกิน คนเหล่านี้จึงควรได้รับการตรวจตราอย่างเข้มงวด, ลงโทษอย่างเข้มงวด และหากเกินกว่าจะควบคุมได้ ก็เอามันออกไปจากสังคมนี้ (ซึ่งสะท้อนผ่าน 3-Strike Policy ของคลินตัน)

รัฐในฐานะพระเจ้าแบบใหม่ (State as the new God) แนวคิดนี้เสนอขึ้นมาครั้งแรกโดย เดวิด แคมป์เบล (David Campbell) ผ่านการตีความของเค้าที่ตีความแนวคิดของฮอบบส์ โดยมองว่ากลไกการทำงานหลักของรัฐสมัยใหม่ (ซึ่งสอดคล้องกับนิยามของเวเบอร์) ก็คือ การประกันความปลอดภัยให้กับประชากรของรัฐ (State’s Promised Security) หน้าที่/กลไกนี้ มีความสำคัญเหนือกว่าการประกันสิทธิเสรีภาพใดๆ

รีวิวจากผู้ชมทั่วโลก

สารคดีด้านเดียวที่จัดทำขึ้นอย่างดีเยี่ยมซึ่งดูการแก้ไขครั้งที่ 13 และการกักขังหมู่ที่หลายคนอ้างว่ากำลังหลอกหลอนประเทศนี้ สารคดีกล่าวถึงระบบเรือนจำในอเมริกา และเราเห็นว่าจำนวนประชากรในเรือนจำเพิ่มขึ้นอย่างไรในช่วงห้าทศวรรษที่ผ่านมา เราเห็นการชกต่อยทางการเมืองที่ Reagan, Bush และ Clinton โยนทิ้ง และวิธีที่ผู้คนหวังว่าสิ่งต่างๆ จะเปลี่ยนแปลงได้ ไปดูกันเลยที่ เว็บดูหนังฟรี

 

13TH

 

ในยุคปัจจุบันนี้ เป็นเรื่องยากที่จะหาสารคดีที่ยุติธรรมหรือสมดุลกัน เนื่องจากผู้สร้างภาพยนตร์มีสาเหตุในการสร้างภาพยนตร์ และพวกเขาต้องการใส่ความคิดเห็นและข้อเท็จจริงทั้งหมดลงในสิ่งที่พวกเขาพยายามจะผลักดัน 13 เป็นภาพยนตร์ที่สร้างมาอย่างดีและในชั่วโมงแรกเป็นภาพยนตร์ที่สมดุลอย่างยิ่ง กับที่กล่าวว่าครึ่งชั่วโมงสุดท้ายจะไปอย่างสมบูรณ์ แต่เราจะไปถึงนั้นในอีกสักครู่

เท่าที่หนังดำเนินไป การแสดงระบบเรือนจำทำได้ดีมาก และตอนนี้มีคนอีกกี่คนที่ถูกคุมขังอยู่ สารคดีนี้ทำงานได้ดีมากในการดำเนินทศวรรษต่อทศวรรษ โดยแสดงให้เห็นกฎหมายต่างๆ ที่เปิดประตูเรือนจำ ซึ่งรวมถึงนโยบาย “Three Strikes and You’re Out” และเหตุใดผู้คนจำนวนมากจึงรับโทษจำคุกตลอดชีวิตในข้อหาก่ออาชญากรรมเล็กๆ น้อยๆ ทั้งหมดนี้ได้รับการบอกเล่าอย่างชาญฉลาดและวิธีการวางหลักฐานก็ทำได้ดีเยี่ยม

จากที่กล่าวมา ส่วนสุดท้ายของภาพยนตร์เรื่องนี้กลายเป็นสารคดีแนวเสรีนิยมที่มีคนชื่นชอบไมเคิล บราวน์และคนอื่นๆ เกิดขึ้น เราได้ยินมาว่าประเทศนี้เลวร้ายเพียงใดและผู้คนผิวสีกำลังถูกคุกคามอย่างไร เรารู้ว่าไมเคิล บราวน์ไม่เคยยกมือไหว้ แต่ที่ไม่เคยกล่าวถึงที่นี่ เราได้รับแจ้งอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับอัตราการเกิดอาชญากรรมที่ลดลง

แต่สารคดีเรื่องนี้ไม่เคยพูดถึงสถานที่ที่อัตราการเกิดอาชญากรรมสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่มีการกล่าวถึงชิคาโก ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังล้มเหลวในการชี้ให้เห็นจริง ๆ ว่าถ้าคุณไม่ก่ออาชญากรรมตั้งแต่แรก คุณจะไม่ต้องกังวลกับระบบ ดูเหมือนว่าสารคดีเรื่องนี้ต้องการลบล้างการลงโทษผู้ที่ก่ออาชญากรรม

มาเผชิญหน้ากัน หลายปีก่อน ฉันอ่านหนังสือเรื่อง “ธรรมชาติของอคติ” โดยชายชื่อออลพอร์ต ในนั้นเรามีคนที่มักจะไม่มีอะไรจะเสนอให้โลกเลือกคนที่อ่อนแอที่สุดในสังคมของเรา เพื่อให้พวกเขารู้สึก “ดี” กับตัวเอง ถ้าฉันมีสิ่งหนึ่งที่เสริม มันคือโลกที่เผ่าพันธุ์ของผู้คนยอมให้ส่วนหนึ่งของอเมริกา (ทางใต้) เติบโตได้โดยไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ต่อวิญญาณที่น่าสงสารเหล่านี้ เรื่องนี้ต้องบอกต่อ

และหยุดอึ “การ์ดแข่ง” นั้น ความโกรธเคืองเหนือการ์ดการแข่งขันไม่มีความหมายกับใครเลยนอกจากการเหยียดเชื้อชาติ นี่ไม่ใช่ภาพยนตร์ที่สมบูรณ์แบบ แต่แสดงให้เห็นว่าการเลือกปฏิบัตินี้แพร่หลายเพียงใด และสุดท้าย พวก MAGA ที่น่าสงสารที่ถูกโจมตี พันธมิตรของทรัมป์มีกระสุนยางยิงใส่พวกเขากี่คน? มีกี่คนที่เผชิญหน้าโดย National Guard  เว็บรีวิวหนัง