รีวิว มหาลัยเหมืองแร่

ด้วยคำสั่งของบิดา คนหนุ่มคนนี้นั่งรถฝ่าดงโคลนที่ชื้นแฉะจนทำรถติดหล่ม ผ่านพื้นที่แสนทุรกันดาร เข้าไปยังเหมืองแร่ห่างไกลความเจริญ ที่ อ.กระโสม จ.พังงา เพื่อหวังหางานทำเป็นบทเรียนชีวิต ดูได้ที่ ดูหนัง

 

รีวิว มหาลัยเหมืองแร่

 

มหาวิทยาลัยอาจไม่ใช่ที่ที่ประสบความสำเร็จสำหรับนักศึกษาทุกๆ คน บางคนอาจจะผิดพลาด ผิดหวังกับชีวิตการเรียนในมหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะมาจากความไม่ตั้งใจของตัวเอง หรือความผิดพลาดบางประการในชีวิตก็ตาม

แต่สำหรับชีวิตของคนๆ หนึ่งที่เคยประสบความล้มเหลวในการเรียนมหาวิทยาลัยนั้น เป็นความรู้สึกที่เลวร้ายมากเสียจนอดที่จะหลั่งน้ำตาออกมาไม่ได้เลยจริงๆ มันเป็นความรู้สึกที่ผิดหวังกับตัวเองล้มเหลว เหลวแหลกสุดๆ ไม่เหลือซึ่งคุณค่าใดๆ

ในชีวิตอีกแล้ว เพราะแม้แต่หน้าที่ในการเรียนเพียงอย่างเดียวก็ยังทำให้สำเร็จไม่ได้ แล้วจะไปทำอะไรสำเร็จได้ในชีวิตกันล่ะ มันบังเกิดความรู้สึกนั้นขึ้นมาจริงๆ นะ

อาจจะต้องเสียเวลาอีกสักหน่อย แต่ว่านั่นก็จะเป็นจุดเปลี่ยนในชีวิตที่ทำให้คุณต้องค้นหาตัวเองว่า จะดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างไรดี ระหว่างเดินหน้าเพื่อเรียนต่อไปจนกว่าจะสำเร็จหลักสูตร ลองซิ่วเพื่อค้นหาตัวตนที่ชัดเจนกว่าตอนนี้ หรืออาจจะถอนตัวออกจากแวดวงการศึกษาแล้วมุ่งหน้าเข้าสู่ชีวิตการทำงานไปเลย

หนังเรื่อง “มหา’ลัยเหมืองแร่” เรื่องนี้ได้ยินกิตติศัพท์สำหรับคนที่ดูหนังมานานว่าเป็นภาพยนตร์ที่ดีมากๆ เลยเรื่องหนึ่ง แต่ด้วยเพราะอาจจะมีกระแสไม่มากนัก ไม่ประสบความสำเร็จด้านรายได้ ทำให้หลายๆ คนมองข้ามไปหรือไม่เลือกที่จะนำมาดู

ซึ่งผู้เขียนเองก็คงเป็นหนึ่งในนั้น แต่พอไปเจอเรื่องเล่าเกี่ยวกับหนังสือเรื่องนี้แล้ว ก็เลยเกิดความสนใจที่จะลองกดเข้าไปดูอย่างจริงจัง ทั้งที่รู้สึกว่าไม่ใช่แนวที่ตัวเองชอบดูตามปกติด้วยซ้ำ

เรื่องราวเกี่ยวกับ ‘อาจินต์’ นักศึกษาหนุ่มคณะวิศวกรรม จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคนหนึ่งที่ถูกรีไทร์ออกจากมหาวิทยาลัย ถือว่าเป็นช่วงที่ตกต่ำที่สุดของชีวิตเขาเลย เขามุ่งหน้าสู่เมืองแร่ที่อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา

ซึ่งแสนไกลและทุรกันดารเป็นอย่างยิ่ง ยิ่งเป็นยุคสมัย พ.ศ. 2492 ที่ความเจริญยังเข้าไปไม่ถึงพื้นที่ชนบทนั้น เป็นชีวิตที่ช่างยากลำบากแสนสาหัสมากจริงๆ ไม่มีแม้กระทั่งเครื่องมืออำนวยความสะดวกต่างๆ ใช้ชีวิตอยู่ในป่าที่แสนสงบเงียบ ไร้ความรื่นเริงบันเทิงใจให้พักผ่อนอีก ไม่รู้ว่ามันจะทั้งลำบากลำบนและเหงาแค่ไหนกันนะ

ด้วยบทประพันธ์ที่ดีอยู่แล้วของผู้เขียน การนำมาถ่ายทอดเป็นภาพยนตร์ให้ดีตามไปด้วยก็ไม่น่าจะเป็นเรื่องยากนัก เราจะเหมือนคนที่ติดตามชีวิตของตัวละครหลัก

และเรียนรู้สิ่งต่างๆ ไปพร้อมกับเขา เหมือนเริ่มเข้าเรียนมหาวิทยาลัยไปด้วยกันกับเขาเลยนั่นเอง ได้เรียนรู้ว่าการขุดเจาะแร่โดยใช้เรือมันเป็นยังไง เพราะเราก็ไม่เคยใกล้ชิดมีประสบการณ์แบบนี้มาก่อน

อาจินต์ตัวเอกในเรื่องต้องเรียนรู้ทั้งงาน และการปรับตัวให้เข้ากับผู้คนที่อยู่ที่นั่นตั้งแต่ระดับชาวบ้าน กรรมกร หัวหน้างาน เจ้านาย คนที่ต่างถิ่นฐานกำเนิด ต่างที่มาซึ่งยากจะเข้ากันได้ มีปากเสียง มีเรื่องราวกระทบกระทั่งกันมาตลอดแต่ก็ยังอยู่ร่วมกันได้ และผูกพันกันแน่บแน่เหมือนพี่น้องสายเลือดเดียวกัน ที่สร้างความประทับใจให้กับเราได้

ตัวงานในเหมืองก็ทั้งหนักทั้งเหนื่อย แต่อาจินต์ก็อดทนสู้ทุกอย่าง แม้แรกๆ จะทำแบบผิดๆ ถูกๆ งกเงิ่นๆ แต่ก็มีความมุ่งมั่นที่จะทำ เพราะที่นี่มีสิ่งที่เขาทำได้ มีคนให้โอกาส

ซึ่งทำให้ตัวของเขาเองรู้สึกว่าชีวิตยังมีคุณค่าเหลืออยู่ ตลอดเวลาที่อยู่ที่นี่มีอะไรต้องเรียนรู้จากประสบการณ์จริง เพิ่มเติมยิ่งขึ้นจากที่เรียนไม่จบจากมหาวิทยาลัยอยู่อีกมากมาย

แต่เพราะยังพอมีความรู้ติดตัวอยู่บ้าง ทำให้เขาขึ้นมาอยู่ในจุดที่ได้โอกาสดีกว่าคนอื่นๆ ที่ก็คงต้องทำงานตรากตรำแบบใช้แต่แรงกาย ตราบเท่าที่ยังมีแรงและกำลังกันต่อไป ซึ่งบางทีก็อาจจะเป็นตลอดทั้งชีวิตของพวกเขาเลยด้วย

เรื่องราวในภาพยนตร์นั้นถ่ายทอดชีวิตของคนในเหมืองมาเรื่อยๆ และเรียบง่ายมาก แต่ก็ไม่ได้ทำให้รู้สึกว่าน่าเบื่อแต่อย่างใด เพราะมีจุดที่ทำให้รู้สึกสนุกขบขันสอดแทรกเข้ามาได้อย่างลงตัว

ซึ่งชีวิตคนเหมืองก็ออกแนวไปทางสำมะเลเทเมาค่อนข้างเยอะ ไม่ว่าจะเป็นระดับกรรมกร หรือระดับเจ้านาย เพราะด้วยวิถีชีวิตที่ทำงานหนัก เจอแต่สิ่งเดิมๆ ซ้ำซาก ขาดความบันเทิงใจ การดื่มเมามายกับเพื่อนฝูงจึงเป็นอะไรที่น่าจะปลอบประโลมใจที่แสนเหว่ว้าให้ยังอยากมีชีวิตอยู่ได้ดีที่สุดแล้ว

แต่มีพบก็ต้องมีจาก…แม้ตอนจบดูเหมือนว่าจะต้องพบเจอกับความล้มเหลวอีกครั้ง แต่ครั้งนี้กลับเป็นความน่าภาคภูมิใจที่เหมือนว่า เป็นการจบการศึกษาของเขาจริงๆ ใน 3 ปี 11 เดือน ที่สอนอะไรมากมายให้กับชีวิตเขา

ทั้งความรู้ ความอดทนกับทุกอย่างที่ทำมา ไม่มีคำว่าสูญเปล่าเลยสักนิด เป็นความทรงจำที่แสนจะมีค่า แม้ว่าตอนแรกตั้งใจว่าจะมาทำงานเก็บเงิน แต่ท้ายที่สุดก็ยังทำไม่สำเร็จอยู่ดีก็ตาม เขาเติบโตขึ้นเยอะมาก ในเมื่อเขาผ่านการทดสอบสุดหินจากมหาวิทยาลัยแห่งนี้ไปได้แล้ว ก็คงไม่มีอะไรที่ยากลำบากในชีวิตที่เขาจะข้ามผ่านมันไปไม่ได้อีกแล้วล่ะนะ

ในวันที่ผู้เขียนจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย กลับรู้สึกโหวงๆ ไม่มั่นใจกับการที่จะออกไปเผชิญกับการทำงานในโลกจริงๆ เลย รู้สึกว่าตัวเองยังไม่พร้อม มีความรู้ไม่พอด้วยซ้ำ ลองเทียบกับชีวิตของคุณดูสิ มีสถานที่ไหนที่เป็นเสมือนมหาวิทยาลัยที่สอนคุณ ไปรับชมเลยที่ ดูหนังออนไลน์

รีวิว มหาลัยเหมืองแร่

 

และให้ความรู้กับคุณได้ยิ่งกว่าการเรียนในมหาวิทยาลัยบ้าง แล้วคุณจะยิ่งเข้าใจแก่นแท้ของหนังเรื่องนี้ที่จะสอนใจคุณได้เป็นอย่างดี เป็นหนังที่สร้างแรงบันดาลใจควรค่าแก่จดจำไปอีกนานเท่านานเลย

ในช่วงเวลา 3 ปีกว่า เกือบ 4 ปี เขาได้เรียนรู้วิถีชีวิตที่แตกต่างจากที่เขาเคยรู้จักอย่างสิ้นเชิง จาก ‘คนเมือง’ ลูกข้าราชการในกรุงเทพ ต้องพลิกผันมาเป็น ‘คนเหมือง’ เป็นกรรมกรใช้แรงงานแลกค่าแรงจากนายฝรั่งวันละไม่กี่บาท ใช้ชีวิตแบบหาเช้ากินค่ำไปวันๆแบบไม่ต้องคิดถึงอนาคตมากนัก

อาจกล่าวได้ว่า เหมืองแร่กระโสมในฉากหลังเปื้อนควันสีน้ำตาลอ่อน ภายใต้แสงส้มของดวงตะวันยามเย็นและไฟเหลืองที่ห้อยอยู่ตามหลังคาเรือขุด เป็นมหา’ลัยชีวิตของอาจินต์ ปัญจพรรค์ คนหนุ่มผู้นี้ ที่นี่ เขาได้เรียนรู้ทักษะชีวิตมากมายที่ในมหาวิทยาลัยไม่มีวันสอนเขาได้

ในปีแรกเขายังปรับตัวไม่ได้ แม้แต่จะหุงข้าวกินเองก็ยังทำไม่เป็นจนกลิ่นน้ำมันก๊าดซึมเข้าข้าวไปหมด ต้องอาศัยแกงจืดจากลุงแถวบ้านประทังชีวิต แม้รสชาติไม่อร่อยแต่บรรยากาศที่ได้นั่งซดน้ำแกงอยู่ใต้เพิงหมาแหงนพอให้คลายความคิดถึงบ้านลงได้บ้าง

 

 

แรกเริ่มเขาเป็นเพียงกรรมกรช่วยงานทั่วไปในเรือขุด ความรู้จากคณะวิศวะบวกกับการเป็นคนหนุ่มทำให้เขามั่นใจในตัวเองเสียหนักหนา แต่การณ์กลับกลายเป็นว่า

แค่สั่งน็อตมาซ่อมเรือขุดเขายังเขียนรายการผิด ความไม่มีประสบการณ์ทำให้เขาต้องตั้งใจอย่างจดจ่อ เรียนรู้จากคนอื่นๆที่แม้ระดับการศึกษาต่ำกว่าเขา แต่ก็ชินและช่ำของในงาน เรือขุดนี้มีพี่จอน ฝรั่งที่พูดสำเนียงใต้ไฟแล่บเป็นนายหัวเรือขุด

หนังไม่ได้บอกว่าพี่จอนมาจากไหน รู้แต่ว่าแกเป็นคนสู้งานและคุมทุกคนได้อยู่ แกมีพรรคพวกที่คอยเดินตามเมื่อตรวจเรือขุด และดูเหมือนว่าเหมืองนี้เป็นเลือดเนื้อและชีวิตแก

วันหนึ่งเจ้านายฝรั่งให้อาจินต์คอยจับตามองขโมยที่จะมาขโมยแร่ที่เหมือง แม่อาจินต์เฝ้าอยู่ เขากลับเห็นพี่จอนกับพรรคพวกมาขนแร่ไป อาจินต์โกรธจัด เทศนาทุกคนว่าแร่นี้เป็นของนายฝรั่ง

เพราะเครื่องมือเครื่องจักรและค่าแรงทุกอย่างเป็นของนาย แต่คนขนแร่กลับตอกกลับมาว่าแร่นี้อยู่ในแผ่นดินไทย ไม่สมควรให้ฝรั่งมาเอาไป  ความขัดแย้งก่อตัวขึ้นชัดในใจอาจินต์เสียจนเขาเดินไปลาออกในวันรุ่งขึ้น หารู้ไม่ว่าเขาจะได้เรียนรู้อะไรบางอย่างจากบทเรียนนี้

เมื่อกร้านขวบวัยมากขึ้น อาจินต์ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นคนทำแผนที่ เขาได้ลูกมือมาช่วยคนหนึ่ง คือไอ้ไข่ ผู้ซึ่งยิ้มแย้มตลอดเวลาและมีนิสัยเหมือนเด็ก อาจินต์เล่าว่าเขาและไอ้ไข่แชร์วิถีประชาธิปไตยกันอยู่

เพราะตอนเช้าเขาจะเป็นคนเดินตัวปลิวไปเขียนแผนที่ แต่ตอนเย็นไอ้ไข่จะเป็นคนเดินมือเปล่านำหน้าไปก่อน ด้วยเหตุผลว่า ‘เลิกงานแล้ว’ ไอ้ไข่กลายมาเป็นเพื่อนสนิทที่นั่งท้ายรถกระบะลุยโคลนไปกับเขา แหวกพงหญ้าเข้าไปวางไม้วัดพื้นที่

และยังเป็นเพื่อนในวงเหล้ายามเหงา  น่าสังเกตว่าเหล้าเป็นสิ่งเชื่อมสายใยของคนในเหมืองที่เป็นผู้ชายล้วนได้อย่างดี  แม้กระทั่งนายฝรั่งเองก็ยังดื่มจัดและตั้งวงกับคนงาน พอเมาก็เอาเงินมาแจกเด็กชาวบ้านแถวนั้นไปซื้อเสื้อผ้า วิถีแบบลูกผู้ชายไหลเวียนอยู่ในสายเลือดที่มีแอลกอฮอล์ไหลเวียนอยู่ในนั้นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน

รีวิว มหาลัยเหมืองแร่

ในภาพรวม หนังมหา’ลัยเหมืองแร่ให้ภาพเกี่ยวกับโลกการทำงานของชนชั้นกรรมาชีพได้อย่างโรแมนติก เล่าด้วยเหตุการณ์สั้นๆที่จบในตัวเองหลายเหตุการณ์  เพราะตัวหนังสร้างจากเรื่องสั้นชุด ‘เหมืองแร่’ ที่เป็นประสบการณ์จริงของอาจินต์ ปัญจพรรค์ ศิลปินแห่งชาติ  ไปรับชมที่ ดูหนังฟรี

 

 

แต่ในความโรแมนติกนั้น ถ้าเรามองทะลุไป เราจะเห็นความแร้นแค้นในชีวิตกรรมกร อาจินต์นั้นแทบไม่เหลือเงินสักบาทตอนเขาออกจากเหมืองแร่ เพราะเอาเงินไปซื้อเหล้าหมดแล้ว กรรมกรคนอื่นก็ระหกระเหินไม่ต่างกันเมื่อเหมืองแร่ปิด และต้องใช้ชีวิตแบบไม่รู้อนาคตและไม่รู้จะได้กลับมาเจอกันเมื่อใด ในความโรแมนติกที่เล่าจากสายตาชนชั้นกลางของอาจินต์

เราจะเห็นแง่ที่ไม่งามของมันได้จากคำขอของนายฝรั่งที่ให้อาจินต์สัญญาว่าจะไม่มาใช้ชีวิตแบบนี้อีก พร้อมซื้อตั๋วเครื่องบินให้เขากลับกรุงเทพ เมื่อลองคิดดูแล้ว หากอาจินต์เป็นเพียงกรรมกรคนหนึ่งที่มีฐานะเท่าๆกับกรรมกรคนอื่นๆที่เหมือง เขาอาจไม่ได้มองเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องโรแมนติกแบบ Good Old Day

ก็ได้ เพราะเขาไม่มีตาข่ายกันตกที่ชื่อว่าครอบครัวเช่นชนชั้นกลางแบบอาจินต์ – อาจินต์ที่เป็นชนชั้นกลางนั้นมีบ้านให้กลับไปเสมอ และที่บ้านพร้อมจะให้การสนับสนุนเขาแม้เขาจะไม่มีงาน แต่กรรมกรทั่วไปไม่ได้เช่นนั้น พวกเขาไม่รู้ว่าจะหางานได้อีกไหม และจะมีข้าวตกถึงท้องอีกเมื่อใด คงไม่มีใครมีอารมณ์มาเขียนเรื่องเล่าชุดที่ตีพิมพ์จนขายดีแบบอาจินต์ได้

ในแง่หนึ่ง มหา’ลัยเหมืองแร่ และเรื่องสั้นชุดเหมืองแร่ ที่กำกับและเขียนโดยชนชั้นกลาง จึงเป็นแค่การมองไปที่โลกของกรรมกรอย่างคนที่อยู่ข้างนอก ที่มาลิ้มรสความลำบากเพียงชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น เมื่อออกมาจากโลกแห่งนั้น เขาก็ยังมีที่ให้ไปต่อ ด้วยต้นทุนทางสังคมและการศึกษาที่มากกว่า ตัวเนื้อเรื่องไม่ได้ผลักดันให้เกิดความเท่าเทียมทางชนชั้นมากขึ้น

เพราะยังคงมองชีวิตกรรมาชีพเป็นสิ่งแปลกใหม่ น่าพิศวง (Exotic) เพราะแตกต่างจากชีวิตคนเมือง อย่างไรก็ตาม หนังก็ได้ทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์ในการให้ความบันเทิงและตอบกลุ่มคนดูชนชั้นกลางได้ดี จนได้รับรางวัลหลายรางวัล และได้ขึ้นทำเนียบหนึ่งในหนังไทยที่ดีที่สุด

รีวิวจากผู้ชมทั่วโลก

เรื่องราวเกิดขึ้นในปี 1950 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เหมืองดีบุกตั้งอยู่ในภาคใต้ของประเทศไทย และเล่าเรื่องราวชีวิตของคนงานเหมืองดีบุกที่มองผ่านสายตาของ อรจิน ปัญจพันธุ์ (ปิจยา วัชชิตพันธุ์) ซึ่งเรื่องราวเกี่ยวกับอัตชีวประวัติเป็นพื้นฐานของภาพยนตร์เรื่องนี้ ไม่น่าแปลกใจหลังจากที่ได้ชมภาพยนตร์เรื่องนี้ว่าเป็นผลงานอย่างเป็นทางการของประเทศไทยในหมวดภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยมสำหรับรางวัลออสการ์ในปีนี้ ไปดูกันเลยที่ เว็บดูหนังฟรี

 

 

พระเอกของเรา Arjin Panjapan ออกจากมหาวิทยาลัยและพบว่าตัวเองกำลังมองหางาน, งานใด ๆ เพื่อความอยู่รอด ออกจากกรุงเทพฯ ลงมาทางใต้และติดต่อกับกลุ่มคนงานเหมืองดีบุก และเนื่องจากทัศนคติที่เต็มใจทำทุกอย่าง เขาจึงได้รับการว่าจ้างจากที่เกิดเหตุ และที่นั่นได้เรียนรู้ว่าชีวิตเป็นมากกว่าแค่เศษเสี้ยว ของกระดาษที่บอกคุณเกี่ยวกับวุฒิการศึกษาของคุณ แต่มันเป็นขึ้นและลงที่ประสบการณ์ซึ่งจะกำหนดชีวิตของคุณตลอดไป

สิ่งที่ฉันชอบเป็นพิเศษเกี่ยวกับเรื่องราวการมาถึงของวัยนี้ จริงๆ แล้วมันเป็นแผนที่ที่ตรงกันตลอดช่วงชีวิต 4 ปีของเขาที่ใช้ไปกับเรือขุดและเมืองเหมืองแร่ขนาดเล็ก ตั้งแต่มือใหม่จนถึงรุ่นพี่

ภาพยนตร์เรื่องนี้เล่าถึงชีวิตของ Arjin ในตอนสั้น ๆ ซึ่งบางครั้งก็จมอยู่กับฉากที่น่าจดจำบางฉาก ในขณะที่บางเรื่องก็มองเข้าไปในตัวละครที่เขาเผชิญด้วยทุกวันมากขึ้น ในเมืองเหมืองแร่ดีบุกที่ทุกคนรู้จักคนอื่น และมีจุดรวมตัวและแหล่งบันเทิงไม่กี่แห่ง มันคือตัวละครที่ช่วยดึงเอารสชาติในภาพยนตร์ออกมา

การดูชีวิตไม่ว่าจะยากและยากเพียงใด แฉบนเรือขุด ทำให้คุณสงสัยว่าสภาพแวดล้อมการทำงานของคุณเองยากขนาดนั้นหรือไม่ แต่มันคือความสนิทสนมและจิตวิญญาณของทีมเสมอที่ช่วยให้สภาพแวดล้อมใด ๆ

คุ้มค่าที่จะทำงาน การทำงานหนักและเล่นให้หนักควรเป็นมนต์ที่เราเห็นว่าสิ่งนี้ได้รับการฝึกฝนตลอดแถวไม่ว่าใครจะเป็น CEO หรือ คนรับใช้ที่ต่ำต้อย

เต็มไปด้วยความขบขันและช่วงเวลาที่ประทับใจ ตัวละครต่าง ๆ ทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำงานได้ดี เฉกเช่นสครูจเหมือนเจ้าของร้าน (จุมพล ทองตัน) หัวหน้าไก่ชนที่พูดภาษาไทยกับเบหสา มลายู จอห์น (นิรันดร์ สาตาร์) กับเจ้าไก่ตัวอ้วนอย่างผู้ช่วยไก่ (สนธยา จิตมณี)

น่าเสียดายที่หนังเรื่องนี้มีจำกัดในโรงภาพยนตร์ในปีนี้ และน่าเสียดายที่ตอนนั้นฉันพลาดไปจริงๆ เป็นเรื่องที่ควรค่าแก่การชมในโรงภาพยนตร์ แม้ว่ารูปแบบการเล่าเรื่องจะยึดติดกับสูตรการมาถึงของภาพยนตร์ยุคนี้ แต่เรื่องนี้ก็มีหัวใจและจิตวิญญาณที่แน่นอน ดูถ้าคุณมีโอกาส! เว็บรีวิวหนัง